Latest update มกราคม 19th, 2021 11:14 AM
พ.ย. 27, 2020 admin ข่าวดีทั่วไทยส่งเสริมสังคม 0
วันนี้(27 พ.ย.63) คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคใต้ นำโดย พลเรือโท ธนพล วิชัยลักขนา ประธานอนุกรรมการฯภาคใต้ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 และ คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ได้ตรวจติดการดำเนินงานโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ พื้นที่ก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองท่าเรือ-หัวตรุด ต.ท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช โดยมีผู้แทนสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 และคณะร่วมให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุปความเป็นมาและความก้าวหน้าของโครงการ สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานดำเนินการ วงเงิน 9,580 ล้านบาท เป็นการขุดคลองระบายน้ำ จำนวน 3 สาย ความยาวประมาณ 18.64 กิโลเมตร ขุดเพิ่มประสิทธิภาพคลองวังวัว ความยาว 5.90 กิโลเมตร ขุดเพิ่มประสิทธิภาพคลองท่าเรือ-หัวตรุด ความยาวประมาณ 11.90 กิโลเมตร และก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำ จำนวน 7 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้า ดังนี้ งานก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองท่าเรือ-หัวตรุด กม. 0+215 ผลงาน 59.85 % งานก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองท่าเรือ-หัวตรุด กม. 9+200 ผลงาน 60.00 % งานเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองท่าเรือ-หัวตรุด ผลงาน 23.28 % งานก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 1 ผลงาน 1.34 % งานก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 2 ผลงาน 0 %และงานก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 3 ผลงาน 1.045 % รวมผลการดำเนินงานทั้งโครงการมีความก้าวหน้า 11.40 % ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อยู่ระหว่างการประกวดราคาหาผู้รับจ้าง ได้แก่ งานก่อสร้างคลองระบายน้ำและอาคารประกอบ ได้แก่ คลองหัวตรุด คลองวังวัว คลองระบายน้ำสาย 1 และคลองระบายน้ำสาย 2 และงานก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองสาย 3 หากการดำเนินงานโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถระบายน้ำอ้อมตัวเมืองนครศรีธรรมราชลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้เพิ่มอีก 750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและลดพื้นที่น้ำท่วมได้ประมาณร้อยละ 90 ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียง คิดเป็นครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 32,253 ครัวเรือน อีกทั้ง ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเลี่ยงเมือง และกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในฤดูแล้งได้ถึง 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์ 17,400 ไร่. /////สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้News
ม.ค. 19, 2021 0
ม.ค. 19, 2021 0
ม.ค. 19, 2021 0
ม.ค. 19, 2021 0