Latest update มีนาคม 2nd, 2021 1:50 PM
ม.ค. 19, 2021 admin ข่าวดีทั่วไทยส่งเสริมสังคม 0
วันนี้(19 ม.ค.64) ที่ห้องประชุมศรีวิชัย ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2/2564 มีเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด ผู้แทนสำนักงาน ปภ.จังหวัด ผู้แทนสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัด ผู้แทนการยางแห่งประเทศไทยจังหวัด รวมทั้งเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ และประมงอำเภอทั้ง 23 อำเภอเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณากลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(อุทกภัย)ด้านการเกษตร ห้วงภัยตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา ตามที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 23 อำเภอ 162 หมู่บ้าน 1,497 หมู่บ้าน โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ ด้านพืช มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย จำนวน 2,651 ราย มีพื้นที่นาข้าว พืชไร่ พืชสวนและอื่น ๆ ได้รับความเสียหายจำนวน 9,764 ไร่ วงเงิน 14,480,936.25 บาท ด้านปศุสัตว์ มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 7,016 ราย วงเงิน 25,671,430 ไร่ และด้านประมง มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 6,073 ราย วงเงิน 140,606,442.380บาท รวมวงเงินที่ขอรับการช่วยเหลือทั้งสิ้น 180,758,808.63 บาท นายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านการเกษตร กล่าวว่า ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เน้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง มีความครบถ้วน ไม่ตกหล่น ซึ่งการช่วยเหลือต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน นับจากวันที่เกิดภัย แต่หากการดำเนินการช่วยเหลือไม่แล้วเสร็จสามารถขอขยายเวลาไปยังอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ สำหรับการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัยในครั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการให้ความช่วยผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.)ครบถ้วนแล้วทุกราย รวมทั้งมีการปิดประกาศรายชื่อ ทำประชาคมด้วย โดยเฉพาะในส่วนของประมงที่ความเสียหายมากกว่า 140 ล้านบาท เนื่องจากเป็นกุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปูทะเล และสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งการจ่ายค่าเยียวยาตามระเบียบจะสูงกว่าด้านพืชและด้านปศุสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ อ.เมือง ปากพนัง และหัวไทร หลังจากที่คณะอนุกรรมการฯจังหวัด ด้านการเกษตร ได้กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบแล้ว จะได้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานพิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติการใช้เงินตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ต่อไป /////สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้News
มี.ค. 02, 2021 0
มี.ค. 02, 2021 0