Latest update กันยายน 28th, 2023 7:37 AM
ต.ค. 20, 2017 admin ข่าวภูมิภาค 0
จังหวัดนครราชสีมาแถลงข่าวผลการดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานแถลงข่าวผลสำเร็จการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร(ศพก.) ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ร่วมในการแถลงข่าว และมีส่วนราชการ ข้าราชการ สื่อมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมรับฟังการแถลงข่าวโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จังหวัดนครราชสีมา เป็นจำนวนมาก นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เผยว่าทุกโครงการไม่มีข้อร้องเรียนและข้อทุจริตใดๆ พร้อมนี้ในการแถลงข่าวได้สรุปผลการดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ 32 จำนวน 361 ชุมชน จากจำนวนตำบล 287 ตำบลจำนวน 3,739 หมู่บ้าน ชุมชนได้เสนอขอโครงการ จำนวน 1,070 โครงการ งบประมาณ 830,051,660 บาท เฉลี่ยชุมชนละ 2.31 ล้านบาท โดยแยกเป็น 1. ค่าวัสดุ จำนวน 390,046,718 บาท ร้อยละ 46.88 และ 2. ค่าแรงงาน จำนวน 442,004,942 บาท ร้อยละ 53.12 โดยโครงการที่ดำเนินการทำให้เกษตรกรรับประโยชน์จากโครงการ จำนวนไม่น้อยกว่า 385,126 ราย ใน 234,650 ครัวเรือน หรือร้อยละ 90.25 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 ที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมาได้สรุปผลการดำเนินการโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยชุมชนได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งหมดรวม 826,620,247.01 บาท (ร้อยละ 99.38)แยกเป็นค่าวัสดุ จำนวน 389,859,343.01 บาท (ร้อยละ 99.95) เป็นค่าจ้างแรงงานจำนวน 436,760,904.00 บาท (ร้อยละ 98.81) และคณะกรรมการระดับชุมชนอยู่ระหว่างดำเนินการนำส่งเงินคงเหลือคืนสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นจำนวนเงินที่ส่งคืน 5,431,412.99 บาท เป็นค่าวัสดุ 187,374.99 บาท ค่าแรงงาน 5,244,038.00 บาท โดยทุกโครงการไม่มีการทุจริต ซึ่งผลการดำเนินโครงการได้แบ่งกลุ่มกรอบโครงการ ดังนี้ 1. ด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช จำนวน ๑๘2 โครงการ วงเงิน 95,890,457 บาท (ร้อยละ 11.52) กิจกรรมที่เกิดเป็นผลผลิต ได้แก่ การผลิตก้อนเห็ด จำนวน 266,900 ก้อน พันธุ์กล้าไม้ ได้แก่ ดาวเรือง จำนวน 1,165,400 ต้น เบญจมาศ 60,000 ต้น พืชผัก 340 ไร่ มูลค่าผลผลิตกว่า 25 ล้านบาท 2. ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 434 โครงการ วงเงิน 533,363,642 บาท (ร้อยละ 64.10) ผลผลิตได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนกว่า 22,500 ตัน น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 3,000 ลิตร มูลค่าผลผลิตกว่า 72 ล้านบาท 3. ด้านการจัดการศัตรูพืช จำนวน 17 โครงการ วงเงิน 4,478,450 บาท (ร้อยละ 0.54) ผลผลิตได้แก่ สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 55,000 กิโลกรัม มูลค่าผลผลิตกว่า 1 ล้านบาทและทำให้สินค้าในชุมชนปลอดภัยต่อสารพิษ 4. ด้านฟาร์มชุมชน จำนวน 27 โครงการ วงเงิน 19,934,232 บาท (ร้อยละ 2.40) ผลผลิตที่เกิดขึ้นทให้มีฟาร์มชุมชน จำนวน 53 แห่ง มูลค่าผลผลิตกว่า 8 แสนบาท ด้านการผลิตอาหารการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จำนวน 45 โครงการ ผลผลิตที่เกิดขึ้นได้แก่ การแปรรูปผลผลิตด้านอาหาร ผลิตถัณฑ์ผ้าทอไหม/ด้ายประดิษฐ์ และเครื่องจักสาน ซึ่งรวมมูลค่าของผลิตภัณฑ์กว่า 15 ล้านบาท 5. ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตฯ จำนวน 83 โครงการ วงเงิน 34,869,039 บาท (ร้อยละ 4.19) สร้างมูลค่าสินค้ากว่า 10 ล้านบาท 6. ด้านปศุสัตว์ จำนวน 254 โครงการ วงเงิน 115,005,093 บาท (ร้อยละ 13.82) ผลผลิตได้แก่ ไข่ไก่ จำนวน 956,210 ฟอง ไก่เนื้อ จำนวน 116,969ตัว สุกร จำนวน 824 ตัว แพะ จำนวน 38 ตัว มูลค่าผลผลิตกว่า 19 ล้านบาท ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชน -2- 7. ด้านประมง จำนวน 72 โครงการ วงเงิน 26,461,487 บาท (ร้อยละ 3.18) ผลผลิตที่ได้ เช่น ปลานิล, ปลาดุก, ปลาหมอเทศ จำนวน 198,079 กิโลกรัม มูลค่าผลผลิตทุกกิจกรรมกว่า 129 ล้านบาท 8. ด้านปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน ๑ โครงการ วงเงิน 2,049,260 บาท (ร้อยละ 0.25) ทำให้สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลดต้นทุนการผลิต ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ใน 1,070 โครงการทำให้ชุมชนมีรายได้หมุนเวียนกว่า 857 ล้าน ทั้งในรูปการจ้างแรงงานเกษตรกรมีการกระจายรายละประมาณ 2,500 บาท มูลค่ากว่า 587 ล้านบาทและรายได้จากผลผลิตที่เกิดในโครงการกว่า 270 ล้านบาท ดังนี้ 1.เกษตรกรรับประโยชน์จากโครงการ จำนวน 385,126 ราย ใน 234,650 ครัวเรือน หรือร้อยละ 90.25 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด จากการจ้างงานและประกอบกิจกรรมในชุมชนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจากอาชีพเสริมและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร 2.เกษตรกรในชุมชนได้รับประโยชน์เฉลี่ย 742 ราย/ชุมชน 3.เกษตรกรมีการกระจายรายได้หมุนเวียนรายละประมาณ 2,500 บาทมูลค่ากว่า 587 ล้านบาท 4.เกษตรกรในชุมชนไม่น้อยกว่า 173,300 ราย มีแหล่งเรียนรู้ในเรื่องการผลิตพืช ผลิตสัตว์ และสินค้าใน ชุมชน 5.กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครงการได้เรียนรู้และสามารถนำไปต่อยอด ให้เกิดความยั่งยืนต่อไปได้ 6.กลุ่มมีกองทุนกลุ่ม เมื่อสิ้นสุดโครงการก็ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง รายได้จากกลุ่มชุมชน สามารถนำมาเป็นกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มต่อไป การมีส่วนร่วมของชุมชนและความโปร่งใส เกษตรกรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ เกิดแนวคิด ร่วมคิดร่วมดำเนินการ ร่วมตัดสินใจ ร่วมจัดทำโครงการ และแต่ละกลุ่มมีการจัดตั้งเป็นจุดเรียนรู้ด้านการผลิตแต่ละด้านในชุมชน บริหารอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน กลุ่มมีกองทุนเมื่อสิ้นสุดโครงการก็ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และชุมชนยังสามารถใช้วัสดุในชุมชนให้เกิดประโยชน์ ทำให้มีรายได้มากขึ้น
ภาพ-ข่าว ปชส.นครราชสีมา
ก.ย. 27, 2023 0
ก.ย. 27, 2023 0
ก.ย. 16, 2023 0